ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์งานที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น โดยการแสดงออกตามประเภทงานลิขสิทธิ์ต่างๆ
ลิขสิทธิ์ เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญาความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะสร้างสรรค์งานขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น " ทรัพย์สินทางปัญญา" ประเภทหนึ่งที่มีค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเจ้าของผลงานลิขสิทธิ์ จึงควรได้รับความคุ้มครองตามกฏหมาย
ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินที่สามารถซื้อ ขาย โอนสิทธ์ กันได้ ทั้งทางมรดก หรือโดยวิธีอื่นๆ การโอนลิขสิทธิ์ควรที่จะทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือทำเป็นสัญญาให้ชัดเจ็น จะโอนสิทธ์ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ลิขสิทธิ์จะมีได้ในงานต่าง ๆ 9 ประเภทคือ
1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. งานนาฏกรรม ได้แก่ งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว การแสดงโดยวิธีใบ้
3. งานศิลปกรรม ได้แก่ งานจิตกรรม งานปติมากรรม งานภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม งานภาพถ่าย ภาพประกอบ แผนที่โครงสร้าง งานศิลปประยุกต์ และรวมทั้งภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
4. งานดนตรีกรรม หมายถึง งานที่เกี่ยวกับเพลง ทำนองและเนื้อร้อง หรือทำนองอย่างเดียว และรวมถึงโน๊ตเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
5. งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วิดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์
6. งานภาพยนตร์
7. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์
8. งานแพร่เสียงและภาพ เช่น งานที่นำออกเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
9. งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
ผลงานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ผลงานต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
1. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศีลปะ
2. รัฐธรรมนูญ และกฏหมาย
3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรมหน่วยงานของรัฐ หรือของท้องถิ่น
4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัยและรายงานของทางราชการ
5. คำแปลและการรวบรวม ตามข้อ 1-4 ซึ่งทางราชการจัดทำขึ้น
ประโยชน์ของลิขสิทธิ์
1.ประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายลิขสิทธิ์ และมีสิทธิ์แต่เพี่ยวผู้เดี่ยวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือผลงานตามข้อใดข้อหนึ่งดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิ์ ทำซ้ำ หรือดัดแปลง จำหน่าย ให้เช่า คัดลอก เลียนแบบ ทำสำเนา การทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ของตนทั้งหมด หรือแต่บางส่วนก็ได้ โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
2. ประโยชน์ของประชาชนหรือผู้บริโภค การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่าทางวรรณกรรมและศีลปกรรมออกสู่ตลาดให้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความรู้ ความบันเทิง และได้ผลงานที่มีคุณภาพ
สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ 1 การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
ส่วนจัดการงานลิขสิทธิ์ สำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ทุกจังกวัด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์มีภูมิลำเนาอยู่
และไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น
2 การตรวจค้นข้อมูลลิขสิทธิ์ ตรวจค้นได้ที่ส่วนจัดการงานลิขสิทธ์ สำนักลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
สิทธิบัตร
สิทธิบัตร (patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์ หรือการออกแบบขวดบรรจุน้ำดื่ม, ขวดบรรจุน้ำอัดลม หรือการออกแบบลวดลายบนจานข้าว, ถ้วยกาแฟ ไม่ให้เหมือนของคนอื่น เป็นต้น
ประโยชน์ของสิทธิบัตร
เอกสารสิทธิบัตรนานาชาติเป็นแหล่งรวมผลงานประดิษฐ์คิดค้นทั่วโลกที่สำคัญที่ สุด ได้เปิดวิธีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมทุกชนิดทุกสาขาทั่วโลก สิทธิบัตรคุ้มครองเป็นรายประเทศ จดทะเบียนในประเทศใด ก็คุ้มครองเฉพาะในประเทศนั้น หมายความว่าเราสามารถนำเทคโนโลยีที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยมาผลิตสินค้า จำหน่ายในประเทศได้ สามารถผลิตหรือส่งออกไปจำหน่ายในประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรในเรื่อง นั้นๆ หรือนำมาใช้เป็นฐานความรู้ในการวิจัยพัฒนาและต่อยอดได้
ประเภทของสิทธิบัตร
รูปแบบหรือประเภทของสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตรจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นเกี่ยวกับ กลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบ ของสิ่งของเครื่องใช้ เช่น กลไกของกล้องถ่ายรูป, กลไกของเครื่องยนต์, ยารักษาโรค เป็นต้น หรือการคิดค้นกรรมวิธีในการผลิตสิ่งของ เช่น วิธีการในการผลิตสินค้า, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น
- สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง การออกแบบรูปร่าง ลวดลาย หรือสีสัน ที่มองเห็นได้จากภายนอก เช่น การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น
- อนุสิทธิบัตร (Petty patent) เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นมาก
สวยจัง
ตอบลบเต็มไปด้วยความรู้ที่มีสาระ
ตอบลบเนื้อหาเป๊ะมากเลยอ้ะ^^
ตอบลบOh ชัดเจนอ่ะเนื้อหาครอบคลุมมากๆๆ
ตอบลบเนื้อหาเข้มมากอ่ะ ความรู้ทั้งนั้น
ตอบลบขอบคุนมากค่ะสวดยอดดดดดด
ตอบลบเนื้อหาดีมากๆเลย
ตอบลบเยี่ยมไปเลย
ตอบลบ............ขอบคุณนะ...ขอบคุณนะ........................ขอบคุณนะ...ขอบคุณนะ.................
ตอบลบ........ขอบคุณนะ.........ขอบคุณนะ....................ขอบคุณนะ........ขอบคุณนะ..............
.....ขอบคุณนะ...............ขอบคุณนะ...............ขอบคุณนะ............ขอบคุณนะ............
...ขอบคุณนะ....................ขอบคุณนะ..........ขอบคุณนะ.................ขอบคุณนะ.........
..ขอบคุณนะ......................ขอบคุณนะ........ขอบคุณนะ....................ขอบคุณนะ.......
.ขอบคุณนะ........................ขอบคุณนะ.....ขอบคุณนะ.....................ขอบคุณนะ........
ขอบคุณนะ.........................ขอบคุณนะ...ขอบคุณนะ......................ขอบคุณนะ.........
.ขอบคุณนะ.........................ขอบคุณนะ.ขอบคุณนะ.....................ขอบคุณนะ...........
..ขอบคุณนะ...............................ขอบคุณนะ.........................ขอบคุณนะ............
...ขอบคุณนะ...............................................................ขอบคุณนะ...............
…...ขอบคุณนะ..........................................................ขอบคุณนะ..................
.........ขอบคุณนะ.................................................ขอบคุณนะ.......................
............ขอบคุณนะ.........................................ขอบคุณนะ............................
................ขอบคุณนะ.................................ขอบคุณนะ................................
..................ขอบคุณนะ..........................ขอบคุณนะ.....................................
......................ขอบคุณนะ...................ขอบคุณนะ........................................
.......................ขอบคุณนะ…............ขอบคุณนะ............................................
..........................ขอบคุณนะ..........ขอบคุณนะ.............................................
.............................ขอบคุณนะ.....ขอบคุณนะ...............................................
................................ขอบคุณนะ.ขอบคุณนะ................................................
......................................ขอบคุณนะ......................................................
ดีที่สุดเลยนะคัฟ
ตอบลบสุดยอดเลย บล็อกนี้
ตอบลบโอ๋พระสงฆ์ มันเยี่ยมไปเลย
ตอบลบ